USN: ว่าด้วยเรื่องหลักการทำงานล้วน ๆ

Wasin Watt
5 min readMay 7, 2022

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีโอกาสไปเจอผู้นำวงการและสาวก Near ก็ได้ยินเรื่อง Algorithmic stable coin ของ Near ที่กำลังจะออก
.
ด้วยความที่เป็น Lunatic และ Fanboy ของ Terra stablecoins มานาน ทำให้ไปลองศึกษาเรื่อง USN ตัวนี้ว่ามันทำงานยังไง เลยอยากนำมาแชร์เป็นภาษาไทยไว้ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนที่หลงมาอ่าน 55555
.
บทความนี้จะโฟกัสที่หลักการทำงานล้วน ๆ และจะไม่ขอพูดถึง

  • Stablecoin คืออะไรแบบละเอียด แบ่งเป็นกี่ประเภทและแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร
  • USN เกิดขึ้นมาเพื่ออะไร ความเสี่ยงมีอะไรบ้าง
  • ความคิดส่วนตัวของผมต่อ USN เมื่อเปรียบเทียบกับเจ้าแห่ง Algorithmic stablecoin อย่าง UST และ stablecoin ตัวอื่น ๆ

ใครไม่คุ้นเรื่อง Stablecoin อาจจะต้องหาความรู้จากที่อื่นก่อนแล้วค่อยกลับมานะจ๊ะ

USN แบบคร่าว ๆ ไว ๆ

USN คือ native stablecoin ของ Near protocol ที่ถูกออกแบบโดย Decentral Bank DAO ให้ตรึงค่าเหรียญให้มีมูลค่าเท่ากับ $1 หรือ 1 USD เสมอ เช่นเดียวกับ UST

USN ถูกตรึงให้มีมูลค่าเท่ากับ 1 USDได้อย่างไร

ราคาของ USN ถูกตรึงกับ USD บน 3 หลักการใหญ่ ๆ ดังนี้

1) การเก็งกำไรผ่าน smart contract (เหมือน Luna <> UST)

Decentral Bank จะมี smart contract ที่อนุญาติให้ใครก็แล้วแต่สามารถที่จะนำ NEAR มาแลกเป็น USN (mint USN โดยการนำ NEAR มาแลก) หรือ USN มาแลกเป็น NEAR ได้ในราคาตลาดของ NEAR <> USD โดยราคานี้ทาง Dencentral Bank ได้รวบรวมข้อมูลมาจาก market หลากหลายเจ้าที่มี liquidity สูง และได้ทำการเกลี่ยราคาสำหรับกรณี spike เรียบร้อยแล้ว

Image 1 — Ref. https://drive.google.com/file/d/1kYqdv3S-x8IGeyZk7nzmvPOc_lsQ6jGK/view

จากรูปจะเห็นว่า ไม่ว่าราคา NEAR<>USN ในขณะนั้นจะเป็นอย่างไร

  • Alice สามารถส่ง NEAR และรับ USN ใน rate ของ NEAR <> USD ได้ ยกตัวอย่างเช่น
    ณ ขณะนั้น 1 NEAR = 10 USD, Alice นำ 1 NEAR มาเปลี่ยนเป็น 10 USN ได้
  • Bob สามารถส่ง USN และรับ NEAR ใน rate ของ NEAR <> USD ได้ ยกตัวอย่างเช่น
    ณ ขณะนั้น 1 NEAR = 10 USD, Bob สามารถนำ 1 USN มาแลกเป็น 0.1 NEAR ได้

โดยที่สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการการันตี rate NEAR<>USD ของ smart contract ด้านบนก็คือ ตลาดจะตรึงราคาให้ USN = USD เองผ่านการเก็งกำไรของผู้เล่นในตลาด

ยกตัวอย่างสองกรณีที่ 1 USN ราคาไม่เท่ากับ 1 USD

  • เมื่อราคาของ USN ในตลาดน้อยกว่า 1 USD สมมุติ 1 USN = 0.95 USD
    - นักเก็งกำไรในตลาดสามารถที่จะนำ USD มาซื้อ USN ในราคาที่ถูกได้ เช่น ซื้อ 100 USN ด้วย 95 USD
    - จากนั้นนำ 100 USN ไปแลกเป็น NEAR ผ่าน Smart contract ที่กล่าวไปข้างต้น ทำให้นักเก็งกำไรได้ NEAR มูลค่า 100 USD กลับมา ซึ่งเขาสามารถขาย NEAR นั้นบนตลาดเปิดและได้ 100 USD กลับมา
    - สรุปคือนักเก็งกำไรคนนี้ทำให้ USN มีราคาสูงขึ้นเนื่องจากเขาซื้อ USN ในขณะที่ราคาตก (เป็นผลให้ USN ราคาสูงขึ้นและเข้าใกล้ราคา USD มากขึ้น) และเขาสามารถทำกำไรได้ 5 USD
  • เมื่อราคาของ USN ในตลาดมากกว่า 1 USD สมมุติ 1 USN = 1.05 USD
    - นักเก็งกำไรในตลาดสามารถที่จะนำ 100 USD มาซื้อ NEAR ผ่านตลาดได้ ซึ่งเขาจะได้ NEAR มูลค่า 100 USD กลับไป
    - นำ NEAR มูลค่า 100 USD ไปแลกเป็น USN ผ่าน Smart contract ทำให้นักเก็งกำไรได้ 100 USN กลับมา ซึ่งเขาสามารถขาย USN บนตลาดเปิดให้กลายเป็น USD ได้ และได้ 105 USD กลับมา
    - สรุปคือนักเก็งคนนี้ทำให้ USN มีราคาต่ำลงจากการเทขาย USN ในขณะที่ USN ราคาสูง (เป็นผลให้ USN ราคาลดลงและเข้าใกล้ราคา USD มากขึ้น) และเขาสามารถทำกำไรได้ 5 USD

สามารถอ่านแผนภาพด้านล่างที่ใช้ตัวอย่างจาก Luna และ UST เพื่อประกอบความเข้าใจได้เช่นกัน (แตกต่างแค่ Luna ที่นำมา แลกเป็น UST จะถูก burn, Near จะถูกเก็บไว้เฉย ๆ)

Image 2 — from https://research.thetie.io/the-terra-triforce-rise-of-the-lunatics/

จะเห็นว่าในเชิงทฤษฎีหลักการข้างต้นจะทำให้ราคาของ USN ถูกตรึงกับ USD เสมอผ่านความเชื่อที่ว่า การเก็งกำไรระหว่าง USN <> USD จะเกิดขึ้นตลอดเวลา
ซึ่งหลักการนี้เป็นหลักการคล้ายกันที่ Terra ใช้ตรึงราคา stablecoins

แต่ Decentral Bank ไม่ได้ใช้แค่หลักการนี้หลักการเดียวเหมือน Terra ในอดีต (ตอนนี้ Terra มีการซื้อสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น BTC/AVAX มาค้ำด้วยแล้ว) ด้วยสาเหตุหลักง่าย ๆ เพียงข้อเดียว นั่นคือ ตอนนี้ ความเชื่อมั่นใน USN, NEAR, และ Decentral Bank ยังไม่สุกงอม

ในเมื่อ Decentral Bank ไม่ได้ถือ USD ไว้อยู่เลยแม้แต่นิดเดียว แถมยังเป็นผู้เล่นใหม่ในโลก Blockchain อะไรจะการันตีให้ Decentral Bank สามารถการันตี rate ในการแลกเปลี่ยน NEAR <> USD ที่กล่าวไว้ข้างต้นได้ไปเรื่อย ๆ

ลองคิดเล่น ๆ ถ้าไม่มีใครต้องการ NEAR หรือ USN เลย จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

  • คนจะเทขาย USN และ NEAR ไปถืออย่างอื่นเรื่อย ๆ (Death spiral) เนื่องจากไม่มีใครต้องการ
  • ราคา USN, NEAR ตก
    - สมมุติมีนักเก็งกำไรซื้อ USN และนำไปแลกเป็น NEAR และนำมาเทขาย
    - นักเก็งกำไรได้ USD ทำกำไรตามที่กล่าวไปข้างต้น, Decentral Bank ถือ USN จากนักเก็งกำไรแทน
  • คนที่ถือความเสี่ยงของ USN และ NEAR คือ Decentral Bank แต่เพียงผู้เดียว ทุกครั้งที่ Decentral Bank ให้คนนำ USN หรือ NEAR มาแลกโดยใช้ USD rate เป็นตัวตั้ง นั่นคือ Decentral Bank กำลังรับความเสี่ยงเรื่องราคาของ USN ให้เสมอ
  • และถ้าวันนึงที่ไม่มีใคร HODL หรืออย่างเสี่ยงกับ USN และ NEAR เลย
    USN และ NEAR ที่ Decentral Bank ถือ (รับความเสี่ยง)ไว้เยอะมาก ๆ นั้น ก็จะไม่มีมูลค่าใด ๆ ในสายตาตลาดและโลก ทำให้ Decentral Bank ไม่สามารถ operate ในเชิงบริษัทได้ (พนักงานหรือ partner ก็ไม่มีใครอยากได้ USN, NEAR) และก็ต้องปิดตัวไป

นี่คือสาเหตุของการมีหลักการตรึงราคา USN ส่วนที่สองของ Decentral Bank ที่ผมรู้สึกว่าสำคัญเท่า ๆ หรือมากกว่าหลักการแรกเลย

2) กองทุนสำรองของ USN

กองทุนสำรอง USN มีหน้าที่อะไร ?

กองทุนสำรอง USN มีไว้เพื่อตรึงมูลค่าของ USN ให้เท่ากับ 1 USD เสมอไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ควบคู่กับหลักการในข้อ 1

กองทุนสำรอง USN ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

  • NEAR — ที่ถูกนำมาใช้แลกเป็น USN ผ่าน Smart contract ข้างต้น, หลักการนี้ได้ถูกเอ่ยถึงไปแล้วในข้อ 1 ซึ่ง NEAR นี้สามารถถูกปล่อยกลับไปให้คนที่นำ USN มาแลกได้ในอนาคต โดย Smart contract จะ burn USN ที่นำมาแลกทิ้งทั้งหมด
Image 2 — screenshot จาก Image 1
  • Stablecoins ที่ตรึงกับ USD ตัวอื่น ๆ — นี่คือข้อแตกต่างระหว่าง USN กับ UST (ในอดีต) ซึ่งในช่วงแรกของการแลก NEAR -> USN (จากนี้ไปขอเรียกว่าการ mint USN) ทาง Decentral Bank จะใส่ USDT จำนวนเดียวกันกับที่จะ mint USN ไปในกองทุนสำรองด้วยเสมอ
    ตัวอย่างเช่น:
    - Alice mint 100 USN โดยนำ 10 NEAR ไปแลกผ่าน Smart contract
    - Decentral Bank จะเติม 100 USDT ไปในกองทุนสำรองเพิ่ม
    - ทำให้สุทธิแล้ว ในกองทุนสำรองจะมี 10 NEAR กับ 100 USDT เพิ่มเข้าไปในการ mint ครั้งนี้
    - แปลว่าในกรณีที่ Alice นำ 100 USN มาแลกคืนเป็น NEAR ณ ขณะที่ราคา NEAR ตกฮวบจนไม่เหลือ (ตอนที่ Alice นำ NEAR มาแลก ราคา 1 NEAR = 10 USD, แต่จังหวะที่เอามาแลกคืน 1 NEAR = 1 USD) Alice ควรจะต้องได้ 100 NEAR กลับไปแต่ในกองทุนสำรองมีไว้แค่ 10 NEAR, ตัว smart contract สามารถนำ 100 USD ที่ในกองทุนมีนี้ไปซื้อ NEAR เพิ่ม 90 NEAR และคืน 100 NEAR ให้กับ Alice ได้

อ้าว … แล้วแบบนี้มันไม่ผิด concept ของ Decentralized stablecoin ไปหน่อยหรอ ถ้าเรานำ centralized stablecoin ตัวอื่น ๆ อย่าง USDT มารับประกัน
แบบนี้ไม่ต้องมีหลักการเก็งกำไรในข้อ 1 ก้ได้มั้ง ?

ถูกต้องครับ มันไม่ตรงตาม Decentralization textbook เลย แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า การเติม Stablecoin อื่นในจังหวะ mint แบบนี้ จะเกิดขึ้นแค่ในช่วงแรกเท่านั้น เพื่อให้นักเก็งกำไรและผู้ใช้งาน USN, NEAR ไม่ต้องเป็นกังวลว่า Decentral Bank จะสามารถตรึงค่าเหรียญไว้ได้หรือเปล่าในกรณีที่แย่ที่สุด
ในช่วงที่คนยังไร้ความเชื่อใน USN พวกเขาก็สามารถเอา USN มาแลกคืนเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าได้แน่นอน (ยกเว้นในกรณีที่ Stablecoins ในกองทุนสำรองอยู่ดี ๆ ก็ไม่ได้รับความเชื่อมั่นเหมือนกัน ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก ๆ เดี๋ยวจะมีอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องของการบริหารจัดการสินทรัพย์ของกองทุนสำรอง)

นี่เป็นวิธีการที่ดีอย่างนึงในช่วงเวลาแรก ๆ ของการปล่อย USN ออกมา เพราะ adoption และการนำ USN ไปใช้งานยังน้อย การที่สามารถทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่ายังไงก็สามารถได้มูลค่าเดิมคืนได้ถือว่าเป็นการอุดรอยรั่วได้แบบหนึ่ง ซึ่งระหว่างนี้สิ่งที่ NEAR ควรจะทำก็คือสร้าง usecase และ adoption ให้ได้เยอะที่สุด เพื่อที่จะไม่ต้องนำ USDT มาค้ำในจังหวะ mint USN ใหม่อีกต่อไป ซึ่งดีทั้งในเชิงต้นทุนในการค้ำประกันของ Decentral bank และการเป็น decentralised stablecoin อย่างแท้จริง

แต่ stablecoin ในกองทุนสำรองไม่ได้มีไว้แค่นั่งเฉย ๆ รอวันที่วิกฤตเกิดเท่านั้น Decentral Bank เลือกที่จะนำมันไปใช้ช่วยตรึงราคา USN <> USD ในอีกกลไกที่เรียกว่า StableSwap

3) StableSwap AMM

StableSwap AMM คืออะไร ? (แบบสั้น ๆ)
ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกับ Constant product AMM (Automated Market Maker) ของ pool ทั่วไปบน Uniswap หรือ Pancakeswap ที่ user สามารถซื้อขายเหรียญสองเหรียญใด ๆ ได้จาก pool ที่มี liquidity เช่น ETH<>USDC pool ซึ่งทุกการซื้อขาย user จะโดนสิ่งที่เรียกว่า slippage เสมอ มากน้อยอยู่ที่สภาพคล่องของ pool และ volume ของเหรียญที่จะซื้อหรือขาย

StableSwap AMM เป็น AMM ที่ถูกออกแบบมาสำหรับ Stablecoins (ราคาเท่ากัน จำนวนใน pool เท่า ๆ กัน) เช่น Pool ระหว่าง USDT<>USDC หรือ DAI <>USDC เป็นต้น ซึ่งคุณสมบัติคือจะมี slippage ที่น้อยกว่าในขณะ trade แม้ว่า volume ที่ซื้อหรือขายจะเยอะมาก ๆ ก็ตาม (ถ้าอยากทราบหลักการทำงานหรือคุณสมบัติเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่ https://curve.fi/files/stableswap-paper.pdf)

StableSwap AMM ถูกนำมาใช้เพื่ออะไร อย่างไร ?

Decentral Bank ใช้ประโยชน์จากกองทุนสำรองโดยการนำ stablescoins ที่มีอยู่จำนวนหนึ่งมาสร้าง StableSwap pool คู่กับ USN เพื่อช่วยตรึงราคา USN ให้เท่ากับ USD ได้มั่นคงขึ้น โดย USN ที่นำมาสร้างสภาพคล่องใน pool นั้นถูก mint โดย Decentral Bank เอง ฉะนั้นตัว protocol จะคุม supply ของ USN ส่วนนี้ในตอนแรกทั้งหมด จนกว่า USN จะถูกซื้อออกจาก pool นี้ไปโดย user
ซึ่งทุกการซื้อ USN ที่เกิดขึ้นจะมี stablecoin อื่นเข้ามาใน pool ในจำนวนที่เท่ากันเสมอ ทำให้กองทุนสำรองมี stablecoin เพิ่มขึ้น

ด้วยความที่ Decentral Bank เป็นคนสร้างและบริหารจัดการ pool นี้เอง
Decentral bank จึงได้สร้างกลไกขึ้นมาเมื่อเกิดการซื้อขาย USN ขึ้น โดยมีการทำงานดังนี้

  • เมื่อมีคนเข้ามาซื้อ USN จำนวนมาก (demand USN เยอะ) ส่งผลให้ใน pool มีปริมาณ USN น้อยลงแต่ปริมาณ USDT (stablecoin อื่น) มากขึ้น
    Decentral Bank จะทำการ mint USN เพิ่มและใส่ USN นั้นเข้ามาใน pool ให้จำนวน USN = จำนวน USDT เหมือนเดิม
  • เมื่อมีคนเข้ามาซื้อ USDT จำนวนมาก (ขาย USN, demand USN ลดลง) ส่งผลให้ใน pool มีปริมาณ USN มากขึ้นแต่ปริมาณ USDT ลดลง
    Decentral Bank จะทำการถอน USN บางส่วนออกมา burn ทิ้ง ให้จำนวน USN = จำนวน USDT เหมือนเดิม

สรุปคร่าว ๆ คือ กระบวนการนี้เป็นการนำ stablecoin ในกองทุนสำรองมาช่วยสร้างความเสถียรให้กับราคา USN นั่นเอง

จะเห็นว่ากองทุนสำรองอันนี้ค่อนข้างน่าสนใจและสร้างประโยชน์ให้กับ economy ของ USN ได้เยอะในเรื่องของการตรึงราคาเหรียญ …

.

แต่มันยังน่าสนใจได้มากกว่านี้ !!! นอกจากการนำ stablecoin ไปสร้าง StableSwap AMM pool แล้ว ตัวกองทุนสำรองยังมีกลไกในการ rebalance สินทรัพย์ข้างในตามราคา NEAR <> USD ในตลาดด้วย

ซึ่งการ rebalance และบริหารสินทรัพย์ตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญเรื่องการค้ำประกันของ USN ในระยะยาวเลยก็ว่าได้ เพราะอย่างที่เคยกล่าวไปด้านบนว่า USDT ที่เข้าในกองทุนสำรองนั้นจะเข้ามาแค่ในเฟสแรกของโครงการ ในอนาคต USDT จะไม่ถูกใส่เข้ามาในกองทุนสำรองเวลาที่ USN ถูก mint แล้ว จะเหลือแค่ NEAR เท่านั้นที่เข้ามา

แล้ว rebalance ยังไง ?

คำตอบเหมือนจะกวนโอ๊ยแต่เป็นเรื่องจริง 55555 มัน rebalance โดย
- เอา NEAR ไปขายตอน NEAR <> USD แพง
- เอา USD ไปซื้อ NEAR ตอน NEAR <> USD ถูก
ทำวนไป ถ้าเป็นไปตามคาด กองทุนสำรองยังไงก้พอจ่ายคืน

ใช่ครับ … rebalance ตาม graph เลย 55555555 แต่เขามี indicator ของเขานะ ถ้าสนใจเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ใน whitepaper เลย แต่อันนี้ต้องมี background ด้าน Linear algebra หน่อยนะครับ :D

ก็ประมาณนี้ครับ คร่าว ๆ เรื่องหลักการของ USN ล้วน ๆ ไม่มีเรื่องอื่นผสม
เพื่อน ๆ คนไหนอยากชวนคุยหรืออยากให้เขียนเกี่ยวกับอะไรเพิ่มเติม สามารถ dm มาคุยกันได้เลยใน Twitter
หรือถ้าเขียนอะไรผิดพลาดไปบอกกันได้เช่นกันครับ :)

Reference

--

--

Wasin Watt

Terraformer @ a crypto payment gateway, Ex-ThoughtWorker. Building on Terra & ETH.